‘Curiosity Gap’ เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายโดยอาศัยช่องว่างระหว่างสิ่งที่พวกเขารู้ และสิ่งที่พวกเขาอยากรู้ โดยช่องว่างนี้ทำให้เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และมีความปรารถนาที่จะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ประโยชน์ของการใช้ Curiosity Gap สามารถช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ ส่งเสริมยอดขาย และดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ
ในโลกของการตลาดและการโฆษณา Curiosity Gap กำลังเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างการมีส่วนร่วม และมักถูกนำมาใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่บนสื่อต่าง ๆ ดังตัวอย่างแคมเปญต่อไปนี้
• แคมเปญ ‘แฟนต้า’ #WhatTheFanta ภารกิจล่า รสซ่าปริศนา
ที่ต่อยอดความสำเร็จในการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้บริโภคมาจนเข้าสู่ปีที่สี่แล้ว และในครั้งนี้ก็ได้เชิญชวนผู้บริโภคมาร่วมกันไขปริศนาอีกครั้งกับเครื่องดื่มอัดลมสีม่วงใหม่ ในกิจกรรม สแกน ชิม ทาย เพียงสแกนคิวอาร์โค้ดในโฆษณา “แฟนต้า” #WhatTheFanta บนสื่อนอกบ้าน เพื่อส่งคำตอบทายว่าเครื่องดื่มอัดลมสีม่วงใหม่คือรสอะไร 200 คนแรกที่ทายถูกรับรางวัลจาก “แฟนต้า” ไปเลย
• แคมเปญ New Honda Giorno+ กับการเปิดตัวรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง New Giorno+ โดยเปิดเผยภาพเงาของตัวรถออกมาให้เราได้เห็นผ่านสื่อนอกบ้าน ให้แฟนๆ ได้ร่วมติดตาม ก่อนจะเผยโฉมให้เห็นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา
• แคมเปญ Singha Lemon Soda เฉดสีใหม่ของความสดชื่นที่แตกต่าง! กับภาพโฆษณาบนสื่อนอกบ้าน ที่โชว์เพียงภาพกระป๋อง Singha Lemon Soda สีใหม่และเครื่องหมายคำถาม
ชวนให้อยากรู้จนต้องไปตามหามาลองชิม