สื่อนอกบ้านไม่เพียงแต่ใช้เพื่อการโฆษณาสินค้าแต่ยังเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้คนในโลกของความเป็นจริง ให้ตระหนักรับรู้ถึงประเด็นต่างๆ ทางสังคมจากตัวอย่างแคมเปญในต่างประเทศ
• Justice for Breonna Taylorแคมเปญเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับการเสียชีวิตของ Breonna Taylor ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลุยส์วิลล์ยิงเสียชีวิตในบ้านของเธอเมื่อเดือนมีนาคมปี 2020จึงเกิดเป็นแคมเปญบน Change.org
โดยมีเป้าหมายเพื่อห้ามไม่ให้มีการออกหมายจับในระดับรัฐบาลกลาง โดยมีการ Crowdfunding ระดมทุนได้เกือบ 80,000 ดอลลาร์เพื่อจัดหาพื้นที่ป้ายโฆษณากว่า 100 แห่งเพื่อเรียกร้องให้มีการรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
• Black Live Matterเพื่อเป็นการฉลองครบรอบการปลดปล่อยทาส (19 มิถุนายน) บนป้ายโฆษณาทั่ว 8 เมืองของสหรัฐฯ Twitter ได้ถ่ายทอดทวีตนับล้านที่ได้รับการคัดเลือกแล้วซึ่งปรากฏบนแพลตฟอร์มนับตั้งแต่การประท้วง Black Lives Matter
ในเดือนพฤษภาคม 2020 ในขณะที่การประท้วงเกิดขึ้นบนท้องถนน Twitter เป็นศูนย์กลางสำหรับการเคลื่อนไหวทางออนไลน์โดยผู้คนพากันไปที่แพลตฟอร์มเพื่อแบ่งปันความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ
• Nike’s Colin Kaepernick ‘Just Do It’ Campaignปัจจุบันผู้คนคาดหวังในการมีส่วนร่วมต่อสังคมจากแบรนด์ แคมเปญโฆษณา Colin Kaepernick ของ Nike เป็นตัวอย่างที่สำคัญของแบรนด์ที่มีจุดยืน หลังจากอดีตผู้เล่น NFL
ปฏิเสธที่จะยืนร้องเพลงชาติเพื่อประท้วงการเหยียดสีผิวและการเลือกปฏิบัติในอเมริกา Nike จึงออกโฆษณาบิลบอร์ดขนาดใหญ่ที่มีข้อความว่า “Believe in something.Even if it means sacrificing everything.” โดยมีใบหน้าของ
Kaepernick ปรากฏอยู่ ในการทำแคมเปญนี้ถือเป็นการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของแบรนด์ในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน และเป็นสิ่งที่ได้ใจคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก