• ต้นกำเนิดวันคนโสด เริ่มเมื่อราวปี 1990 เมื่อบรรดานักศึกษาจีน เลือกเอาวันที่ 11 พ.ย. (11/11) เป็นวันจัดกิจกรรมภายในรั้วมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้คนไร้คู่ได้ออกมาพบปะสังสรรค์ ทำความรู้จักกัน ต่อมากิจกรรมนี้แพร่หลายไปทั่วมหาวิทยาลัยและกระจายสู่โลกภายนอก
• ภาษาจีนเรียกวันนี้ว่า กวงกุ้นเจี๋ย แปลตรงตัวก็คือ วันท่อนไม้ เพราะท่อนไม้มีลักษณะยาวๆ คล้ายกับเลขหนึ่ง คำนี้จึงกลายเป็นสแลงหมายถึงคนโสด และเลข 1 ก็มีลักษณะคล้ายคนที่ยืนหงอยเหงาไร้คู่ จึงกลายเป็นตัวแทนของคนโสดที่ยืนเรียงกัน 4 คน
• เทศกาลนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกปี กวงกุ้นเจี๋ยกลายเป็นไม่ใช่วันสำหรับคนโสดเท่านั้น แต่คนที่ไม่โสดก็ใช้โอกาสนี้ในการช้อปปิ้งทั้งบนร้านค้าทั่วไปและทางร้านค้าออนไลน์ เพื่อซื้อของเป็นรางวัลให้กับตัวเองด้วย
• จากวันคนโสดสู่เทศกาลช้อปปิ้งแห่งปี วันที่ 11.11 กลายเป็นมหกรรมลดราคาที่สร้างยอดขายได้อย่างมหาศาล ร้านค้าออนไลน์ต่างเริ่มมีการใช้สื่อโฆษณาเพื่อโปรโมทเทศกาลช้อปปิ้งวันที่ 11.11 พร้อมขนสินค้าออกมาลดราคากระหน่ำ
• แคมเปญ 11.11 เลือกใช้สื่อนอกบ้านที่มีความโดดเด่นด้วยองค์ประกอบเชิงคุณภาพ ทั้งในเรื่องของขนาดและตำแหน่งที่ตั้ง ช่วยสร้าง Impact ทำให้กลุ่มผู้ชมสามารถมองเห็นโฆษณาได้จากระยะไกล ยากที่จะเลี่ยงการมองเห็น และยังช่วยให้เกิด Awareness ในวงกว้าง จนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อบนโลกออนไลน์ได้อีกด้วย
รู้หรือไม่? กว่า 30% ของสื่อนอกบ้านในจีน มาจากเม็ดเงินของ Tech company
• ปีที่แล้ว บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน สร้างสถิติในเทศกาล 11.11 ด้วยยอดขายภายในชม.แรกสูงถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 32% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นที่น่าจับตาว่าวันคนโสดปีนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซจะทำสถิติยอดขายมากแค่ไหนในวันที่ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น