Insight

จับผิดคำและภาพในโฆษณาอาหาร

Jul 3, 2023

  • • โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการโฆษณาสรรพคุณที่เกินความจริง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นการโฆษณาที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย
  • • ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร”
  • • ถ้อยคำที่ใช้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารมีหลักเกณฑ์สำคัญว่า ต้องไม่ทำให้เข้าใจผิด ไม่เป็นเท็จ หรือเกินจริง เช่น สามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค, ลดความอ้วน กำจัดไขมันส่วนเกิน ช่วยให้รูปร่างดี, บำรุงสมอง ทำให้ฉลาด ความจำดี, บำรุงผิว ทำให้ผิวดี ขาว เนียน กระชับ เปล่งปลั่ง
  • • ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ระบุว่าการโฆษณาอาหารต้องแสดงข้อความที่ชัดเจนว่า “ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค” นอกจากนี้ ยังห้ามใช้ภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มาใช้ในโฆษณาด้วย

    ทั้งนี้โฆษณาที่มีการแสดงสรรพคุณอาหารทางสื่อต่างๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน ซึ่งโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ

ที่ได้รับอนุญาต จะปรากฏข้อความ  “ฆอ. …./….” อยู่ในชิ้นงานโฆษณา

ที่มา : คู่มือการขออนุญาตโฆษณาอาหาร (พ.ศ. 2556)  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

This site is registered on wpml.org as a development site.